หากกล่าวถึง “การท่องเที่ยว” หลายคนอาจนึกถึงการเดินทาง หรือบางคนอาจนึกถึง ชาวต่างชาติที่นอนอาบแดดอยู่บริเวณชายหาด จะพอได้ว่าการท่องเที่ยวเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเดินทางแต่ปัญหาอยู่ที่ว่า การเดินทางไม่ใช่การท่องเที่ยวเสมอไป
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2506 ได้มีการประชุมของสหประชาชาติว่าด้วยการเดินทางและการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ที่ กรุงโรม ประเทศอิตาลี เกี่ยวกับคำจำกัดและได้ยอมรับข้อเสนอความของการท่องเที่ยวจากนักวิชาการจากองค์การการท่องเที่ยวระหว่างประเทศ (IUOTO: The International Union of Official Travel organizations ต่อมาได้กลายเป็นองค์การท่องเที่ยวโลกในปี พ.ศ. 2513 : World Tourism Organization, WTO)ว่าการเดินทางที่จัดเป็นการท่องเที่ยวต้อง เป็นการเดินทางจากที่อยู่อาศัยปกติไปยังที่อื่นป็นการชั่วคราว, เป็นการเดินทางด้วยความสมัครใจ หรือเป็นการเดินทางด้วยวัตถุประสงค์ใดๆก็ตามที่มิใช่เพื่อการประกอบอาชีพและการหารายได้
จากนิยามความหมายของการท่องเที่ยวที่มาจากการประชุมในปี พ.ศ. 2506 นั้นที่ประชุมได้ให้คำนิยามเรียกผู้ที่เดินทางเพื่อนการท่องเที่ยวว่า ผู้เยี่ยมเยือน (visitor) ซึ่งจำแนกออกเป็น
- นักท่องเที่ยว (tourist) คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ ที่มาเยี่ยวเยือนอย่างน้อย 24 ชั่วโมงนักท่องเที่ยวเลียนแบบประติมากรรมในประเทศไทย
- นักทัศนาจร (Excursionist) คือผู้มาเยือนชั่วคราว และพักอาศัย ณ ที่มาเยี่ยวเยือน ไม่เกิน 24 ชั่วโมงและในปี พ.ศ. 2537 องค์การท่องเที่ยวโลก ได้เพิ่มเติมปรับปรุงนิยามใหม่ และได้รับการยอมรับจากคณะกรรมการสถิติแห่งองค์การสหประชาชาติ ว่า การท่องเที่ยว ประกอบด้วยกิจกรรมของผู้เดินทางไปยังสถานที่อื่นใดที่มิใช่ที่พักอาศัยปกติและมีการพักอาศัย ณ สถานที่นั้น ไม่มากไปกว่าหนึ่งปีอย่างต่อเนื่อง และการใช้แนวคิดที่กว้างนี้ทำให้มีความเป็นไปที่จะนิยมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้เช่นเดียวกันการท่องเที่ยวภายในประเทศ การท่องเที่ยวหมายถึงกิจกรรมทุกๆ อย่างของผู้มาเยือนทั้งที่เป็นนักท่องเที่ยว (ค้างคืน) และผู้มาเยือนแบบวันเดียว
นอกจากที่กล่าวมานี้ ยังสามารถจำแนกผู้มาเยือนตามถิ่นนำพักได้อีก คือ
- ผู้มาเยือนขาเข้า คือ ผู้ที่มีถิ่นพำนักในต่างประเทศและเดินทางเข้ามาเที่ยวในอีกประเทศหนึ่ง
- ผู้มาเยือนขาออก คือ ผู้มายือนอยู่ในประเทศหนึ่งและเดินทางออกไปเที่ยวอีกประเทศหนึ่ง
- ผู้มาเยือนภายในประเทศ คือ ผู้ที่เดินทางท่องเที่ยวภายในประเทศของตน
จากคำนิยามของการท่องเที่ยวจะพบว่า วัตถุประสงค์ในการเดินทางท่องเที่ยวจึงมีมากมายหลากหลาย
ซึ่งแบ่งได้ 3 ประการ คือ
- การท่องเที่ยวเพื่อความเพลิดเพลิน Holliday เป็นการเดินทางของนักท่องเที่ยวที่มีวุตถุประสงค์เพื่อความเพลิดเพลิน สนุกสนาน เพราะนักท่องเที่ยวเหล่านี้มีวันหยุดจำกัด รวมถึงการเดินทางไปเยี่ยมเพื่อนหรือญาติมิตร (Visits to Friends and Relatives : VER )
- เดินทางเพื่อธุรกิจโดยทั่วไป Business เป็นการเดินทางควบคู่ไปกับการทำงานแต่มิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบอาชีพ หรือหารายได้จากสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวนั้น นอกจากนี้หมายความรวมถึงการเดินทางเพื่อการเข้าประชุม สัมมนาท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัลและจัดนิทรรศการ หรือเรียกว่า MICE (Meetings, Incentives , Conventions and Exhibitions )
- การเดินทางเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ SIT จะแตกต่างจาก 2 ประการข้างต้น หรืออาจเรียกประการนี้ว่า การเดินทางด้วยวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การเดินทางไปศึกษาธรรมชาติ ศิลปวัฒนธรรม การเดินทางไปเผยแผ่ศาสนา การเดินทางไปรักษาโรคภัยไข้เจ็บ เป็นต้น
การท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกเป็น 3 วิธีใหญ่ ได้แก่
- แบ่งตามสากล คือ
1.1 การท่องเที่ยวภายในประเทศ หมายถึง ผู้ที่อยู่อาศัยภายในประเทศนั้นๆ เดินทางเที่ยวในประเทศของตน เช่น การเดินทางไปร่วมงานเทศกาลต่าง
1.2 การท่องเที่ยวเข้ามาในประเทศ หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นพำนักอาศัยที่อื่นเดินทางเข้ามาเที่ยวในประเทศนั้นๆ เช่น การเดินทางไปเล่นน้ำทะเล การเดินทางไปร่วมงานแสดงสินค้า
1.3 การท่องเที่ยวนอกประเทศ หมายถึง ผู้ที่มีถิ่นพำนักอยู่ในประเทศหนึ่งเดินทางออกไปท่องเที่ยวยังต่างประเทศ - แบ่งตามลักษณะการจัดการเดินทาง คือ
2.1 การท่องเที่ยวเป็นหมู่คณะ(GIT) แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ กรุ๊ปเหมา และกรุ๊ปจัด กรุ๊ปเหมาคือการท่องเที่ยวของคณะนักท่องเที่ยวซึ่งมีความสัมพันธ์กัน ส่วนกรุ๊ปจัด คือ การเดินทางของคณะนักท่องเที่ยวซึ่งไม่มีความสัมพันธ์ทั้งทางด้านส่วนตัวและด้านหน้าที่การงาน แต่มีความต้องการที่จะเดินทางร่วมกันไปยังสถานที่เดียวกัน
2.2 การท่องเที่ยวแบบอิสระ(FIT) การท่องเที่ยวประเภทนี้ นักท่องเที่ยวต้องการความมีอิสระและมักเดินทางตามลำพัง นักท่องเที่ยวอาจจะวางแผนการเดินทางด้วยตนเองหรือใช้บริการบริษัทนำเที่ยวก็ได้ - แบ่งตามวัตถุประสงค์การเดินทาง คือ
3.1 เพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน
3.2 เพื่อธุรกิจ กิจกรรมหลักที่เกิดขึ้นคือกิจกรรมทางธุรกิจโดยทั่วไป
3.3 เพื่อวัตถุประสงค์พิเศษ : การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ การท่องเที่ยวเชิงศิลปวัฒนธรรม การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและกีฬา การท่องเที่ยวเพื่อการศึกษา การท่องเที่ยวเชิงชาติพันธุ์องค์ประกอบของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว มีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ
1. ที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
2. ที่สนับสนุนกิจกรรมการท่องเที่ยว
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว จึงหมายถึง ธุรกิจท่องเที่ยวขนาดใหญ่ ที่ต้องอาศัยแรงงาน การลงทุน เทคนิควิชาชีพเฉพาะ การวางแผน การตลาด แต่คำว่าสินค้าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะเรียกว่า สินค้าที่จับต้องไม่ได้ และไม่เคลื่อนที่ไปหาผู้ซื้อ
องค์ประกอบที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับนักท่องเที่ยว
1.สิ่งดึงดูดใจทางการท่องเที่ยว
2.ธุรกิจการคมนาคมขนส่ง บก น้ำ อากาศ
3.ธุรกิจที่พักแรม
4.ธุรกิจร้านอาหาร
5.ธุจกิจนำเที่ยว มัคคุเทศก์
องค์ประกอบที่สนับสนุนกิจกรรมทางการท่องเที่ยว