วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2553

เกาะเกร็ด!!!


ที่ตั้งและภูมิประเทศ

การพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การ พัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของวิชาการ เกาะเกร็ดและเติบโตและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วและที่สำคัญคือ เป็นการเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤติของประเทศ เหตุผล แนวคิด วิธีการและดำเนินการที่ผลักดันให้การพัฒนานี้ประสบผลสำเร็จ จึงเป็นสิ่งน่าสนใจ การจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระบวนการบริหารการจัดการในการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การศึกษาความเป็นไปได้ สำรวจสภาพท้องถิ่นของตำบลเกาะเกร็ดแล้วพบว่า เกาะเกร็ดมีศักยภาพเพียงพอที่สามารถจะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงกำหนดเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นจากการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนดังรายละเอียดต่อไปนี้ ศึกษาประวัติความเป็นมาจากตำราหนังสือเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ นำมาเป็นจุดขาย ทำการสำรวจพื้นที่เกาะเกร็ดตามสภาพความเป็นจริง เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ลักษณะที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม การประกอบอาชีพ ศิลปวัฒนกรรม และประเพณีดั้งเดิมต่าง ๆ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึง

จุดเด่นและจุดด้อย ที่จะเป็นเเรงดึงดูด หรืออุปสรรคต่อการพัฒนา จุดเด่น ด้านสภาพแวดล้อม คือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวรามัญ ( มอญ ) ตลอดจนมีวัดที่เป็นโบราณสถาน วัตถุโบราณที่สวยงาม และที่สำคัญที่ตั้งของเกาะเกร็ด ยังอยู่ในบริเวณชานเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก

กิจกรรมการพัฒนาชาวบ้าน ฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ความสามรถในการเป็นมัคคุเทศก์จัดฝึกอบรมชาวบ้าน ให้มีความรู้ ทักษะ ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา และการแกะสลักลวดลายเครื่องปั้นดินเผา การพึ่งตนเองด้านรายได้ ชาวบ้านมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและช่วยเหลือกัน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและบริการให้แก่นักท่องเที่ยวที่มี จำนวนเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ เช่น การปั้นเครื่องดินเผา การขายอาหาร และสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้ เเก่ผู้ประกอบการอยู่แล้วเพิ่มขึ้น และผู้ที่ประสบปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หันกลับมาประกอบอาชีพดั้ง เดิมในท้องถิ่น ของตน ดั้งนั้น ชาวบ้านจึงเห็นสมควรที่จะต้องให้มีการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่องตลอดไป และให้มีการพัฒนาร่วมกันในทุกด้านโดยได้อาศัยได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กร ชุมชนและกองทุนการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดในทุกด้านจากการร่วมทุนของชาวบ้านด้วย กันเอง

ประวัติความเป็นมา

ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่ หัวท้ายสระ หลังจากได้ดำเนินการขุดคลองมหาชัยได้แล้วเสร็จในปี จ.ศ.๑๐๘๓ แล้ว ในปีถัดมาได้มีพระราชดำริให้ขุดคลอง เตร็ดน้อย ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองซึ่งอ้อมมากให้เป็นเส้นตรง จากบริเวณใกล้ๆ ท่าเรือปากเกร็ด ตรงไปผ่านหน้า วัดสนามเหนือ วัดกลางเกร็ด ไปทางวัดเชิงเลนซึ่งแต่แรกขุดนั้นเป็นคลองลัดเกร็ด(หรือเตร็ดหมายถึงลำน้ำ เล็กลัดเชื่อมลำน้ำสายใหญ่สายเดียวกัน ) นั้น มีขนาดกว้างเพียง ๖ วา ลึก ๖ ศอก ยาว ๒๙ เส้น แต่เนื่องจากแรงของกระแสน้ำที่ไหลพัดผ่านนั้นแรงมาก จึงได้พัดเซาะตลิ่งพังและขยายความกว้างขึ้นมา จนในปัจจุบันจึงได้กลายเป็น แม่น้ำลัดเกร็ด ไปแล้ว และพื้นที่บนแผ่นดินเดิมซึ่งมีลักษณะเป็นแหลมที่ยื่นออกไปโดยมีแม่น้ำเจ้า พระยาไหลผ่านเป็นรูปเกือกม้า ก็กลายเป็นเกาะชัดเจนขึ้น จึงถูกเรียกว่า เกาะศาลากุนเรียกตามชื่อวัดศาลากุน ส่วนตรงปากทางที่ขุดก็เรียกว่า ปากเกร็ด

ต่อมาเมื่อมีการตั้งอำเภอปากเกร็ดขึ้น เกาะศาลากุนจึงถูกยกฐานะเป็น ตำบลเกาะเกร็ดมี 7 หมู่บ้าน ประชาชนในเกาะเกร็ดเป็นชาวไทยเชื้อสายรามัญเดิมเป็นส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพ ทำสวน ค้าขาย และทำเครื่องปั้นดินเผา ประชาชนยังคงรักษา และอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีชาวรามัญไว้อย่างมั่นคง







ที่พักอาหารและสิ่งอำนวยความสะดวก


นนทบุรี พาเลซ

3/19 หมู่ 1 ถ.นนทบุรี 1 ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000





ริเวอร์ไรน์ เพลส เซอร์วิส อพาร์ทเมนท์
9/280 หมู่ 7 ถ.พิบูลสงคราม ต.สวนใหญ่ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000





เดอะ ไทย เฮ้าส์ นนทบุรี
32/4 หมู่ 8 บางเมือง บางใหญ่ นนทบุรี 11140




โรงแรม 13 เหรียญ ติวานนท์
99/9 หมู่ 3 ถนนบ้านใหม่ ปากเกร็ด นนทบุรี ประเทศไทย 11120





โรงแรม 13 เหรียญ บางใหญ่

56/2 หมู่ 6 ถนนเสาธงหิน บางใหญ่ จ.นนทบุรี 11140




โรงแรม 13 เหรียญ แอร์พอร์ต งามวงศ์วาน

30/19 หมู่ 9 บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี ประเทศไทย 11000




โรงแรม ริชมอนด์ สไตล์ลิส คอนเวนชั่น

69/783-787 ถ.รัตนาธิเบศร์ ต.บางกระสอ อ.เมืองนนทบุรี จ.นนทบุรี 11000




ของที่ระลึก

เครื่องปั้นดินเผาหมู่ 1 เป็นหมู่บ้านที่ทำเครื่องปั้นดินเผา ภาชนะของใช้ชีวิตประจำวัน เช่น กระถาง โอ่งน้ำ ครก สามารถเดินดูการสาธิตการแกะสลักลายเครื่องปั้นดินเผา และเลือกซื้อของที่ระลึกได้


ที่ตั้งและภูมิประเทศ

การพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ

การ พัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของวิชาการ เกาะเกร็ดและเติบโตและพัฒนาด้านการท่องเที่ยวอย่างรวดเร็วและที่สำคัญคือ เป็นการเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจที่อยู่ในภาวะวิกฤติของประเทศ เหตุผล แนวคิด วิธีการและดำเนินการที่ผลักดันให้การพัฒนานี้ประสบผลสำเร็จ จึงเป็นสิ่งน่าสนใจ การจัดการเชิงรุกเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กระบวนการบริหารการจัดการในการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว เชิงนิเวศ ดังมีขั้นตอนดังต่อไปนี้ การศึกษาความเป็นไปได้ สำรวจสภาพท้องถิ่นของตำบลเกาะเกร็ดแล้วพบว่า เกาะเกร็ดมีศักยภาพเพียงพอที่สามารถจะส่งเสริมให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวได้ จึงกำหนดเป็นนโยบายเพื่อพัฒนาเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว โดยเริ่มต้นจากการดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ก่อนดังรายละเอียดต่อไปนี้ ศึกษาประวัติความเป็นมาจากตำราหนังสือเกี่ยวกับประเพณีวัฒนธรรมต่าง ๆ นำมาเป็นจุดขาย ทำการสำรวจพื้นที่เกาะเกร็ดตามสภาพความเป็นจริง เพื่อดูสภาพความเป็นอยู่ลักษณะที่อยู่อาศัย สภาพแวดล้อม การประกอบอาชีพ ศิลปวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมต่าง ๆ จากการศึกษาดังกล่าวทำให้ทราบถึง

(เสริมเฟินกะกวางยุ้ย) จุดเด่นและจุดด้อย ที่จะเป็นเเรงดึงดูด หรืออุปสรรคต่อการพัฒนา จุดเด่น ด้านสภาพแวดล้อม คือ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเกาะอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม มีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวรามัญ ( มอญ ) ตลอดจนมีวัดที่เป็นโบราณสถาน วัตถุโบราณที่สวยงาม และที่สำคัญที่ตั้งของเกาะเกร็ด ยังอยู่ในบริเวณชานเมืองที่มีการคมนาคมสะดวก

กิจกรรมการพัฒนาชาวบ้าน ฝึกอบรมชาวบ้านให้มีความรู้ความสามรถในการเป็นมัคคุเทศก์จัดฝึกอบรมชาวบ้าน ให้มีความรู้ ทักษะ ในการปั้นเครื่องปั้นดินเผา และการแกะสลักลวดลายเครื่องปั้นดินเผา การพึ่งตนเองด้านรายได้ ชาวบ้านมีความตื่นตัวและกระตือรือร้นที่จะมีส่วนร่วมและช่วยเหลือกัน ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ชาวบ้านมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายสินค้าและบริการให้แก่นักท่องเที่ยวที่มี จำนวนเพิ่มมากขึ้น ก่อให้เกิดการพัฒนาอาชีพ เช่น การปั้นเครื่องดินเผา การขายอาหาร และสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งทำให้เกิดการสร้างรายได้ให้ เเก่ผู้ประกอบการอยู่แล้วเพิ่มขึ้น และผู้ที่ประสบปัญหาจากสภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่หันกลับมาประกอบอาชีพดั้ง เดิมในท้องถิ่น ของตน ดั้งนั้น ชาวบ้านจึงเห็นสมควรที่จะต้องให้มีการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดให้เป็นแหล่งท่อง เที่ยวเชิงนิเวศอย่างต่อเนื่องตลอดไป และให้มีการพัฒนาร่วมกันในทุกด้านโดยได้อาศัยได้เสนอให้มีการจัดตั้งองค์กร ชุมชนและกองทุนการพัฒนาชุมชนเกาะเกร็ดในทุกด้านจากการร่วมทุนของชาวบ้านด้วย กันเอง

การเดินทางไปเกาะเกร็ด
รถยนต์ส่วนตัว จากห้าแยกปากเกร็ดให้ตรงไปท่าน้ำปากเกร็ดประมาณ 1 กม. จะเห็นป้ายบอกทางเข้าวัดสนามเหนือ ให้เลี้ยวซ้ายไปประมาณ 500 ม. จอดรถไว้ที่วัดสนามเหนือ แล้วลงเรือข้ามฟากที่ท่าเรือวัดสนามเหนือไป เกาะเกร็ด ค่าเรือ 2 บาท
รถประจำทาง สาย 32, 51, 52, 104, ปอ. 5 และ ปอ. 6 ไปลงท่าน้ำปากเกร็ด แล้วเดินไปวัดสนามเหนือ หรือนั่งสามล้อถีบ แล้วลงเรือข้ามฟากไปเกาะเกร็ด
เรือด่วนเจ้าพระยา จากท่าช้าง มีเรือ การเดินทางไปเกาะเกร็ด เฉพาะวันเสาร์ - อาทิตย์

ข้อมูลทั่วไป
- ค่าโดยสารไปรอบเกาะ ผู้ใหญ่ 50 บาท เด็ก 25 บาท
-
เรือออกเวลา 10.00 - 17.00 น. (ทุก 1 ชม.)
-
เรือหางยาวเหมาลำ นั่งได้ประมาณ 10 คน ราคา 350 บาท

เส้นทางการคมนาคม การเดินทางเข้าสู่ตำบล การเดินทางไปเกาะเกร็ด :
การเดินทางไป สู่ตำบล เกาะเกร็ด ทำได้ดังนี้ :

1) การเดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางรถยนต์ เดินทางไปที่ห้าแยกปากเกร็ด แล้วขับตรงไปยังท่าน้ำเทศบาล และข้ามฟาก โดยเรือข้ามฟากไปยังเกาะเกร็ด

2) การเดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางรถยนต์ ก่อนจะถึงท่าเรือเทศบาล จะมีถนนแยกไปทาซ้าย ขับตรงไป จะมีท่าเรือข้ามฟากที่บริเวณวัดสนามเหนือซึ่งจะข้ามไปยังวัด ปรมัยยิกาวาสวรวิหาร

3) การเดินทางไปเกาะเกร็ด โดยทางเรือ ใช้บริการเรือด่วนเจ้าพระยาซึ่งเปิดบริการระหว่างเส้นทาง วัดราชสิงขร เขตยานนาวาถึงท่าน้ำวัดเตย อำเภอปากเกร็ดทุกวัน ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00

ไปเกาะเกร็ดต้องปั่นจักรยาน สบายใจไปกับอากาศที่เกาะเกร็ด ซึ่งไร้ควันพิษจากรถยนต์ เพราะเกาะเกร็ดไม่มีรถยนต์ มีจักรยานและจักรยานยนต์ ถ้าชอบออกกำลังด้วยการขี่จักรยาน เกาะเกร็ดคือที่เหมาะสม ที่จะ เดินทางไปเกาะเกร็ดการเดินทางไปเกาะเกร็ด นั้นถือว่าเป็น การเดินทาง ที่คุ้มค่า การเดินทางไปเกาะเกร็ด เพื่อชมวิถีชีวิตของชาวมอญ การเดินทางไปเกาะเกร็ด ที่อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพ การเดินทางไปเกาะเกร็ด สะดวก เหมาะกับการพักผ่อน ล่องเรือง เดินทางไปเกาะเกร็ด ชม ช็อป กิน ร่วมไปกับ การเดินทางไปเกาะเกร็ด จ.นนทบุรี

อ้างอิง : http://www.nairobroo.com/76/modules.php?name=News&file=article&sid=513

http://www.thaitambon.com/Tambon/tpubdesc.asp?ID=120608


ลักษณะของเกาะเกล็ด
เกาะเกร็ดเป็นเกาะขนาดใหญ่อยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา มี พ.ท.ประมาณ 2,820 ไร่ มีสถานะเป็นตำบลแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 หมู่บ้าน อยู่ในเขต พ.ท.อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี แต่เดิมเกาะเกร็ดมิได้เป็นเกาะ แต่เป็นส่วนหนึ่งของแผ่นดินรูปโค้งลักษณะเป็นแหลมยื่นไปตามความโค้ง ของแม่น้ำเจ้าพระยา มีชื่อเรียกมาแต่เก่าก่อนว่า บ้านแหลมครั้นถึงสมัยสมเด็จพระเจ้าท้านสระแห่งกรุงศรีอยุธยาได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ขุกคลองลัดเพื่อให้การสัญจรสะดวกรวดเร็วขึ้น เรียกว่า คลองลัดเกร็ดน้อยลำคลองกว้างเพียง 6 วา จากตำบลปากอ่าว (ปากเกร็ดในปัจจุบัน) ไปยังแอ่งน้ำซึ่งอยู่ระหว่างวัดกลางเกร็ดและวักป่าฝ้าย (วักป่าเลไลย์) และจากแอ่งน้ำผ่านไปตามคลองเดิมซึ่งอยู่ระหว่างบ้านปากด่าน และวัดชมภูราย ซึ่งปัจจุบันร้างไปแล้ว ครั้นเวลาผ่านไป ความแรงของสายน้ำที่ลัดผ่านไหลตรง ทำให้คลองกว้างขึ้น สภาพความเป็นเกาะจึงเห็นเด่นชัดเรียกกันในขั้นแรกว่า เกาะศาลากุนตามชื่อวัดบนเกาะนี้ คือวัดศาลากุนต่อมาเมื่อได้ตั้งอำเภอปากเกร็ดแล้ว เกาะศาลากุนจึงได้มีฐานะเป็นตำบล เรียกว่า ตำบลเกาะเกร็ด ย่านเกาะเกร็ดเป็นชุมชนที่ม่ความเจริญมาตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นทั้งชุมทางการค้าขาย และเป็นที่ตั้งด่านตรวจเรือต่างๆ ที่จะเดินทางผ่านไปมายังกรุงศรีอยุธยา ซึ่งแม้ในปัจจุบันชาวบ้านยังเรียกบริเวณลัดเกร็ดตอนใต้ว่าบ้านปากด่าน ประจักษ์พยานที่บ่งชี้ถึงความเจริญแต่เก่าก่อนคือ วัดต่างๆบนเกาะเกร็ด ล้วนมีความสวยงาม และลักษณะทางสถาปัตยกรรมเป็นสิ่งยืนยันว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย อยุธยาตอนปลายทั้งสิ้น

เครื่องปั้นดินเผา

แต่เดิมเครื่องปั้นดินเผาเกาะเกร็ดมี 2 ประเภท อย่างแรกคือ เครื่องใช้เช่นโอ่ง อ่าง ครก กระปุก อีกประเภทหนึ่งคือเครื่องปั้นดินเผาประเภทสวยงามที่เรียกว่า ลายวิจิตรที่เป็นทรงโอ่งและ หม้อน้ำซึ่งเน้นความงามองรูปทรงและการสลักลวดลาย เกาะเกร็ดเคยเป็นแหล่งผลิตภาชนะที่ใช้ในชีวิตประจำวันป้อนให้แก่ผู้ใช้แพร่หลายไปทั่ว แต่ในปัจจุบันไม่สามารถสู้กับสินค้าอุตสาหกรรมได้ ในปัจจุบันความต้องการของตลาดเปลี่ยนไปการผลิตเครื่องปั้นดินเผา จึงเน้นไปทางของที่ระลึก และของตกแต่งบ้าน โอ่ง มีโอ่งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก และโอ่งขนาดกลาง มีชื่อเรียกต่างกันไป อ่าง มีอ่างขนาดต่างๆกันและมีชื่อเรียกต่างกัน เรียงตามขนาดดังนี้ - อ่างกะเทิน มีขนาดใหญ่สุด ใช้สารพัดประโยชน์ - อ่างฮร็อก ใหญ่รองลงมา - อ่างฮแร็ก - อ่างใน 1 อ่างใน 2 อ่างใน 3 อ่างใน 4 ไล่ขนาดลงมา - อ่างหมา ไว้ใช้ป้อนข้าวเจ้าของชืออ่าง แต่ใช้ประโยชน์อื่นๆได้เช่นกัน -อ่างแมว หรืออ่างตีนตู้ ชาวบ้านชอบนำไปรองตู้กับข้าวเพื่อไม่ให้มดขึ้น กระปุก กระปุกจาโต หรือ กระปุกตีนอิฐ หรือกระปุกเป็ด ที่มีหลายชื่อเพราะลูกค้าแต่ละกลุ่มนำไปใช้ประโยชน์ต่างกัน ถ้าลูกค้าทางหัวเมืองชายทะเลจะซื้อไปใช้อาหารเป็ด ส่วนลูกค้าทางเมืองปทุม สามโคก ซึ่งมีอาชีพทำอิฐขายจะซื้อไปใส่น้ำไว้ล้างมือ กระปุกน้ำตาล ไว้ใส่น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลปึกตามชื่อ กระจาวี ไว้ใส่ปูน กระปุกดับถ่าน ครก ครกเกาะเกร็ด แยกตามลักษณะรูปทรงออกเป็นสองแบบคือ ครกธรรมดากับครกตีนช้าง ครกธรรมดาจะมีลักษณะทรงเอวคอด ส่วนครกตีนช้างจะมีส่วนกว้างลักษณะเหมือนตีนช้าง โอ่ง, หม้อลายวิจิตร เครื่องปั้นประเภทสวยงามมีหลายรูปทรง หลายประเภทลายแล้วแต่ช่างจะสร้างสรรค์ แต่รูปทรงที่มีแบบหลักๆคือ - โอ่งทรงสูง - โอ่งทรงโกศ - โอ่งทรงแป้น - โอ่งทรงโหล

หันตรา

เป็นขนมที่มีลักษณะคล้ายกับเม็ดขนุนมาก แต่จะต่างกันก็ตรงที่หันตราจะมีน้ำค้างของไข่ขาว (มีลักษณะเป็นเส้นๆสีขาวๆ)เป็นส่วนที่ช่วยเพิ่มความอร่อย ซึ่งขนมหันตรานี้เป็นขนมที่เลื่องชื่อของเกาะเกร็ดมานาน


วัดปรมัยยิกาวาส

เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อวัดปากอ่าว มีอายุ 200 ปี เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ เรียกตามภาษารามัญว่า เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว ในปี พ.ศ. 2417 พระสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ร.5 ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน ณ.วัดปากอ่าวครั้นเสด็จพระราชทานกฐินแล้ว เสด็จพระราชดำเนินรอบพระอารามทรงเห็นว่าวัดนี้ตั้งอยู่ในทำเลที่ดีแต่ ทรุดโทรมกว่าพระรามอื่นๆจึงทรงมีพระราชศรัทธาที่จะสถาปนาให้ดีขึ้น เพื่อสนองพระเดชพระคุณพระเจ้าบรมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดา- รัตนราชประยูรผู้ทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระราชมารดาและพระองค์แต่ยัง ทรงพระเยาว์ถวาย เป็นการเฉลิมพระเกียรติ จึงมีหมานกำหนดการเสด็จพระราชดำเนินมาเพื่อประกอบราชกุศล แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามพระอารามนี้ เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศ พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอกรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูรว่า วักปรมัยยิกาวาศ” (บรม+อัยยิกา+อาวาศ) แปลว่า วัดของยาย ภายหลังเขียนเป็น วัดปรมัยยิกาวาส สิ่งที่น่าสนใจเกี่ยวกับวัดปรมัยฯ
-
พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยฯ
-
เป็นแหล่งศิลปกรรมเกี่ยวกับพระศาสนา
-
โรงทำลูกหนู
-
สวกภาษามอญ
-
เป็นสำนักเรียนบาลีรามัญ
-
เป็นศูนย์รวมของพระสงฆ์และชาวบ้าน


การเดินทาง
- บริการเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ (ไม่ไกลจากท่าน้ำปากเกร็ด) ข้ามไปยังวัดปรมัยยิกาวาส (จากวัดวัดปรมัยยิกาวาสสามารถเดินเท้าไปยังวัดอื่นๆได้)ราคาอยู่ที่คนละ 2 บาท มีบริการเรือตั้งแต่ 5.00-21.30 น.
- บริการเรือเช่าเหมาไปยังเกาะเกร็ด
บริษัท มิตรเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่าเรือท่าช้างวังหลวง ทุกวันเสาร์ - อาทิตย์ เวลา 8.30 น. - 16.30 น. บริษัท เรือด่วนเจ้าพระยา จำกัด ออกเดินทางจากท่ามหาราช ทุกวันอาทิตย์ เวลา 9.00 - 15.00 น. ราคาต่อท่านประมาณ 150 - 250 บาท สนใจติดต่อโทรศัพท์ 0-2623-6001 - 3 โทรสาร 0-2225-3002
- บริการเรือหางยาวเหมาลำ ชมรอบเกาะ ลำละ 500 บาท ถ้าเข้าคลองขนมหวาน ด้วยราคา 700 บาท แต่ถ้าเช้าเรือเล็กจากท่าปากเกร็ดมาเฉพาะคลองขนมหวาน 150 - 200 บาท
- การเช่าเรือเที่ยวรอบเกาะเกร็ด ราคามีตั้งแต่ 350-3,000 บาท ขึ้นอยู่กับระยะทางและขนาดของเรือ ติดต่อที่ท่าเรือวัดปรมัยยิกาวาส หรือจองล่วงหน้าที่ โทร. 584-5012


นั่งเรือรอบเกาะเกร็ด
มีเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ ข้ามมาที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส หากจะนั่งเรือรอบเกาะ มีเรือหางยาว นั่งได้ประมาณ 8 คน เหมาลำลำละ 500 บาท แต่แวะคลองขนมหวาน ราคา 700 บาท เรือเล็กเช่าจากปากเกร็ด เข้าคลองขนมหวาน ราคา 150 – 200 บาท

ล่องคลองบางใหญ่
จากท่าน้ำนนทบุรี มีเรือท้องแบนวิ่งเส้นทางนนทบุรี - คลองอ้อม - คลองใหญ่ ตั้งแต่ 4.00 - 20.00 น. ค่าโดยสาร 6 บาท ใช้เวลา 15-20 นาที

ปัญหาหรือผลกระทบจากการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด

ส่วนมากจะเป็นปัญหาทางอ้อมไม่ค่อนรุนแรงเท่าไหร่ ถึงแม้จำนวนนักท่องเที่ยวจะมากก็จริงแต่คือจะทยอยมาตลอดทั้งวันอาจจะมีบ้างบางเรื่อง เช่น
1.เรื่องขยะภายในเกาะคือมีนักท่องเที่ยวมากขยะก็จะเยอะตามนักท่องเที่ยว
2.เรื่องที่มีมิจฉาชีพแฝงตัวเข้ามาขโมยสิ่งของมีค่า เราก็ควรระวังตัวไว้เพราะว่ามีนักท่องเที่ยวเยอะมากเราไม่รู้ว่าใครปลอมตัวเข้ามาขโมยของเรา
3.การเดินทางอาจจะไม่ค่อยสะดวกเท่าไหร่สำหรับคนแก่ หรือเด็ก เพราะว่าต้องนั่งเรือข้ามไป
4.ช่วงหน้าน้ำ น้ำจะท่วมทั้งเกาะ นักท่องเที่ยวไม่สามารถเข้าไปได้

5.
นักท่องเที่ยวบางคนทิ้งขยะลงไปในน้ำ อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียได้


สรุป
เกาะเกร็ดเกิดจากการขุดคลองลัดแม่น้ำเจ้าพระยา ต่อมากระแสน้ำเปลี่ยนทิศทางแรงขึ้น น้ำเซาะตลิ่ง ทำให้คลองขยายจนกลายเป็นเกาะ
เกาะเกร็ดเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของชาวไทย เชื้อสายมอญ การคมนาคมบนเกาะจะใช้จักรยาน วัดวาอารามต่างๆบนเกาะเกร็ดส่วนมากจะเป็นวัดมอญ
เกาะเกร็ด มีความขึ้นชื่อในเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา ทอดมันหน่อกะลา และบ้านขนมหวาน โดยเฉพาะเรื่องของเครื่องปั้นดินเผา อันจะเห็นได้จาก ตราสัญลักษณ์ของจังหวัดนนทบุรี ที่เป็นหม้อน้ำลายวิจิตร ซึ่งบ่งบอกว่าคนในจังหวัดยึดการทำเครื่องปั้นดินเผาเป็นอาชีพ และมีชื่อเสียงมาตั้งแต่สมัยโบราณ
การเดินทางจะต้องลงเรือข้ามฟากที่วัดสนามเหนือ และขึ้นที่ท่าน้ำวัดปรมัยยิกาวาส โดยที่คนส่วนใหญ่จะไม่พลาดที่จะนมัสการพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี